วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียน

จากที่ได้เรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนโดยใช้Weblogหรือblogนั้นเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอะไรบ้าง

จุดเด่นของการนำWeblogมาใช้กับการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน
1.การนำWeblogนี้มาใช้ทำให้การเรียนนั้นแตกต่างไปจากการเรียนแบบปกติ ผู้เรียนมีความตื่นเต้นและน่าสนใจ อยากจะเรียนในวิชานี้มากยิ่งขึ้น
2.เป็นความรู้ใหม่ที่จะทำให้นักศึกษาได้เอาไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
3.นักศึกษาได้รู้จักนวัตกรรมใหม่เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในวิชาชีพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถและยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆมากยิ่งขึ้น
4.Weblogเป็นช่องทางใหม่ในการแสดงความสามรถ แสดงความคิดเห็น และผลงานทางความคิดให้ผู้สนใจหรือบุคคลอื่นได้เข้ามาศึกษาหาความรู้และเป็นการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์
5.การนำมาใช้กับการเรียนทให้นักศึกษาได้ฝึกความพยายาม ความอดทนและความตั้งใจในการทำบล็อคให้ออกมาสวยงามและน่าสนใจ
6.เมื่อเรียนวิชานี้แล้ว ยังได้มีผลงานเอาไว้เป็นความภาคภูมิใจในการเรียนว่าเรานั้นได้มีผลงานที่ดี ได้แสดงผลงานออกสู่เครือข่ายการศึกษาไร้พรหมแดน
7.เพิ่มความรุ้ความสามารถใหม่ในการเรียนรุ้
8.สามารถนำความรู้เรื่องการใช้Weblogไปสอนให้แก่ผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้
9.Weblogตัวแลกเปลี่ยนความรู้นอกห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นการเรียนรุ้ที่ดีที่ไม่มีที่สิ้นสุด
10.การเรียนการสอบแบบนี้จะทำให้การศึกษาของประเทศไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศอย่างมาก


จุดด้อยในการนำWeblogมาใช้ในการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน
1.การนำWeblogมาใช้กับการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนนั้นควรที่จะสอนให้ตรงกับเนื้อหาวิชามากกว่านี้
2.อาจารย์อภิชาติควรที่จะสอนให้มีความหลากหลายมากกว่านี้
3.การนำWeblogมาใช้ควรที่จะมีการตรวจสอบสัยญานอินเตอร์เน็ตในห้องที่เรียนก่อนเพราะมีปัญหาในการเรียนเพราะวิชานี้ต้องใช้เน็ตและการส่งงานนั้นก็ลำบากอยู่พอสมควร
4.อาจารย์ควรที่จะสอนให้มีลูกเล่นให้มากว่านี้

สุดท้ายนี้ฝากถึงอาจารย์อภิชาติ ผู้สอนWeblogให้กับผม ผมคิดว่าวิชานี้คงเป็นวิชาที่น่าเบื่อพอสมควรเพราะแค่ชื่อรายวิชาผมก็ไม่อยากที่จะเรียนแล้ว แต่อาจารย์เป็นผู้ที่เปลี่ยนความคิดของผมให้กลับมาชอบวิชานี้โดยวิชานี้ได้ต่างจากวิชาที่ผมเคยเรียนมา อาจารย์ได้สอนนวัตกรรมใหม่ให้แก่ผม สอนให้ผมรู้จักสอนอะไรที่ใหม่ๆให้กับเด็กในอนาคต แล้วผมคิดว่าหากอาจารย์ได้นำวิธีการสอนแบบนี้ไปใช้กับทุกวิชาที่อาจารย์สอนผมคิดว่าคงทำให้นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์คงมีความคิดที่ดีไม่ต่างไปจากผม ผมขอขอบคุณอาจารย์ที่สอนอะไรใหม่ๆให้แก่ผม ผมจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะครับ
สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขมากๆนะครับ     

นายฐิติวัฒน์  ศรีวะบุตร นักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่3 รหัส5011103007

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบ

ในกรณีเกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะที่เป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็นอดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่านหากพิจารณาข้อดีข้อเสียของท่านจะนำมาสอนห้ผู้เรียนเกิดความคิดที่เป็นผู้นำได้อย่างไร
ตอบข้อที่1.พิจารณาข้อดีข้อเสียของอดีตนายกทักษิณ
ข้อดี
1.ท่านได้ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความเจริญเติบโตขึ้น
2.ท่านได้มีการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนระดับรากหญ้าให้มีความเป็นอยู่มากดียิ่งขึ้น
3.ท่านได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศต่างๆในการยอมรับในตัวของประเทศไทย
4.ท่านได้ปรับปรุงการศึกษาให้เจริยมากยิ่งขึ้น
5.ท่านได้ดูแลการศึกษาให้ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ และให้ได้รับทุนการศึกษาแก่ผู้ที่มีความยากจนและขาดทุนทรัพย์
ข้อเสีย
จาข้อดีในข้างต้นของท่านได้ทำให้ประชาชนชาวไทยเชื่อมั่นในตัวท่านจนมีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำความจริงมาเปิดเผย ท่านได้ทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนจริงแต่ท่านได้ประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งญาติพี่น้อง ทำให้เกิดความไม่โปร่งใส และเป็นารระทำที่ผิด เสมือนเป็นการใช้ประชาชนเป็นหุ่นชักใยเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญหากท่านไม่เป็นผู้ผิดจริง ทำไมท่านต้องหนีไปต่างประเทศแล้วไม่มาทำให้ปัญหาที่ก่อขึ้นครี่คลายไปในทางที่ดีแต่ท่านกลับไม่ทำเช่นนั้น ท่านได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในประเทสต่างๆแล้วเข้าแททรกแทรงประเทศเหล่านั้นทำให้เกิดความวุ่นวายใจประเทศเหล่านั้นทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ท่านได้เป็นตัวชนวนที่สร้างความวุ่นวายในประเทศชาติแล้วทำให้ประชาชนชาวไทยอยู่กับความปวดร้าวและความกังวลใจอยู่จนถึงปัจจุบัน
หากผมเป็นครูผมจะสอนผู้เรียนโดยการเล่านิทานโดยมีเค้าโครงเรื่องมาจากอดีตนายทักษิณที่กระทำความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในประเทศ ผมจะเล่านี้ทานเรื่องนี้โดยไม่อ้างอิงท่านแต่จะเล่าให้นักเรียนได้ทราบเนื้อเรื่องอย่างเข้าใจแล้วสรุปให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ แล้วสอนให้ผู้เรียนได้รู้ว่าหาจะทำความดีเราควรจริงใจในการทำความดีไม่ควรที่จะทำความดีแต่ต้องการหวังผลตอบแทน
การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบข้อที2
ผมคิดว่ารูปแบบการสอนของครูทุกคนมีประสิทธิภาพและใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่จะเอามาเปรียบเที่ยบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบในดีที่สุดคงจะบอไม่ได้ แต่การที่ผู้สอนเลือกรูปแบบการจัดารเรียนรู้ให้สอดคล้อมตามลักษณะของผู้เรียนและยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและแล้วละก็ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้แบบได้ หากเลือกให้ตรงกับผู้เรียนแล้วละก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและการเรียนในห้องก็จะเกิดความคล่องตัว ผู้สอนสอนง่าย ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข

การเตรียมตัวที่จะเป็นครูที่ดีนั้น ผมจะทำตัวเป็นแบบอย่างสำหรับผู้เรียน เนื้อหาในการสอบนั้ผมจะทำความเข้าใจและมีการเตรียมตัวเพื่อที่จะสอน การวางตัวที่ดีก็มีส่วนสร้างวคามเชื่อมั่นและจะได้เป็นคนที่ดี
ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะเอานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้กับการเรียนการสอบแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบข้อที่3.
จากการที่ผมได้เรียนการทำ "WebBlog " จากอาจารย์อภิชาติ วัชระพันธุ์ ผมจึงมีความคิดว่าในอนาคตถ้าผมได้จบเป็นครูและได้สอนนักเรียนที่ผมรัก ผมจะเอาความรู้ที่อาจารย์สอนในการเรียนการทำ WebBlog ซึงเป็นนวัตกรรมใหม่ในตอนนี้ที่ผมคิดว่าน่าจะทำให้เด็กได้ได้มีทัศนะคติที่ดีต่อการเรียนวิชาที่ผมสอน WebBlog นี้เป็นนวัตกรรมที่ดีที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สร้างความกระตือรือร้นที่จะเรียนและดึงดูดให้ผู้เรียนมีความสนใจนวิชาเรียนมาขึ้น และในยุคนี้เป็นยุคของการสื่อสารไรพรหมแดน การสอนห้เด็กได้คุ้นเคยกับการสือสารไร้พรหมแดน และรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ในทางที่ดีและเหมาะสม โดยผมจะสอนตามแบบปกติและมีการนำ WebBlog มาประยุกต์เข้ากับการเรียนโดยมีการให้เด็กได้เข้าไปทำงานตามที่ผมสั่ง แล้วให้ผู้เรียนได้สร้างWebBlogเป็นของตนเองเพื่อที่จะได้เป็นเสมือนสมุดส่งงานอิเล็คทรอนิค และเป็นกระดานความคิดที่จะให้ผูเรียนได้แสดงความคิดต่อวิชาที่เรียน ต่อการเรียน ต่อครูผู้สอนรวมทั้งการที่ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนอย่างไร
ตอบข้อที่4.
ผมคิดว่าการประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียนจะมีความรู้ ความสามารถ และมีคุณลักษณะต่างๆครบตามความคาดหวังของหลักสูตรกล่าวคือ การที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและมีคุณลักษณะต่างๆครบตามความคาดหวังของหลักสูตรได้นั้น ารบริหารจัดการชั้นเรียนต้องเป็นการจัดการที่ดี มีระบบ มีประสิทธิภาพในการทำให้ผู้เรียนนั้นได้ตามเป้าหมายและตรงตามความคาดหวังที่หลักสูตรวางไว้ ควรจัดให้ผู้เรียนได้มีความรู้ มีความสามารถ และนำความรุ้ที่ได้แสดงออกในทางที่ดี มีการบูรณาการความรู้ต่างๆเพื่อเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาตัวผู้เรียน
2.ประชาชนเกิดความมั่นใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษา ความมั่นใจที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปกครองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ส่งบุตรหลานมาเรียนดังนั้นคุณภาพของการบริหารจัดารที่ดีเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกที่จะให้บุตรหลานมาเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในสถานศึกษาแห่งนี้ โดยตระหนักว่าสถานศึกษาใดมีการจัดการและการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ดีจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดและได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษา
3.สังคมมั่นใจในการจัดการศึกาาของสถานศึกษา
4.หน่วยงานต่างๆสามารถนำผู้สำเร็จการศึกษามาทำงานด้วยความมั่นใจ
5.สถานศึกษา มีทิศทางการบริหารจัดการศึกษาที่ชัดเจนตามมาตรฐาน มีการกำหนดมีระบบควบคุมคุณภาพ มีการทำงานอย่างเป็นมาตรฐาน ทำงานเป็นทีม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะได้มาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบข้อที่5.ประเมินผู้สอน อาจารย์อภิชาติ วัชระพันธุ์
คะแนนเต็ม10 ให้8.5 โดยคะแนนที่ได้มีการแจกแจงดังนี้
ข้อดี จากการเรียนกับอาจารย์อภิชาตินี้เป็นวิชาที่2แล้วที่อาจารย์ได้สอนผมมา โดยวิชานี้มีความแตกต่างกับวิชาที่2โดยอาจารย์ได้สอนความรุ้ใหม่ๆให้กับผมโดยผมได้รับความรู้ในการทำ WebBlog เป็นของตัวเอง ถ้าผมไม่ได้เรียนกับอาจารย์ก็คงยังไม่รู้จัก แต่วันนี้ผมรู้จักและมีความรู้พอที่จะนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ในได้จริง ผมจึงประทับใจในการทุ่มแทของอาจารย์มากที่สอนสิ่งที่ดี สิ่งที่ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทำให้ชีวิตการเป้นครูในอนาคตของผมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย การสอนของอาจารย์อาจจะไม่ละเอียดในด้านเนื้อหามากนัก และรวมทั้งเลือกใช้การสอนโดยใช้ WebBlog โดยเกิดความลำบากในการเรียนของผมและยังไม่สะดวกเพราะเน็ตในมหาวิทยาลัยไม่แรงพอ จึงเกิดปัญหาในการเรียน และทุกคนยังไม่มีคอมที่จะใช้งาน อาจารย์ควรสอนในห้องคอมเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้

ข้อเสนอแนะ ถ้าหากอาจารย์จะสอนการใช้ Webblog แล้วละก็ควรที่จะหาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกาาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเรียน ส่วนในเรื่องของเนื้อหาวิชาเรียน การบริหารจัดการในชั้นเรียน ควรมีเนื้อหาเกียวกับเรื่องต่างๆในชั้นเรียนเพื่อที่จะให้นักสึกษาคุ้นเคยกับห้องเรียน การสอนควรที่จะพูดเร็วพอประมาน

งานกลุ่มที่1ไฟล์เรื่อง ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจัดชั้นเรียน


การจัดชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

หลักการจัดชั้นเรียน
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้

1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป


รูปแบบการจัดชั้นเรียนแบบต่างๆ

จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

บรรยากาศในชั้นเรียนที่พึงปรารถนา

การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้
1. การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
1.1 ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
1.2 ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
1.3 ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
1.4 ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
1.5 ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
1.6 แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ

2. การจัดโต๊ะครู
2.1 ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2.2 ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน

3. การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดาน
ดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
3.1 จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
3.2 จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3.3 จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
3.4 จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

แนวการจัดป้ายนิเทศ
เพื่อให้การจัดป้ายนิเทศได้ประโยชน์คุ้มค่า ครูควรคำนึงถึงแนวการจัดป้ายนิเทศในข้อ
ต่อไปนี้
1. กำหนดเนื้อหาที่จะจัด ศึกษาเนื้อหาที่จะจัดโดยละเอียด เพื่อให้ได้แนวความคิดหลัก หรือสาระสำคัญ เขียนสรุป หรือจำแนกไว้เป็นข้อ ๆ
2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดโดยคำนึงถึงแนวความคิดหลักสาระสำคัญของเรื่องและคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการเขารู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
3. กำหนดชื่อเรื่อง นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ดู ชื่อเรื่องที่ดีต้องเป็นใจความสั้น ๆ กินใจความให้ความหมายชัดเจน ท้าทาย อาจมีลักษณะเป็นคำถามและชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ในการจัดแผ่นป้าย
4. วางแผนการจัดคล่าว ๆ ไว้ในใจ ว่าจะใช้วัสดุอะไรบ้าง แล้วจึงช่วยกันจัดหาสิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรูปภาพ แผนภาพ ภาพสเก็ตซ์ ของจริง หรือจำลอง การ์ตูน เท่าที่พอจะหาได้
5. ออกแบบการจัดที่แน่นอน โดยคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ โดยสเก็ตซ์รูปแบบการจัดลงบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายแผ่นป้าย ว่าจะวางหัวเรื่อง รูปภาพ และสิ่งต่าง ๆ ในตำแหน่งใด คำบรรยายอยู่ตรงไหน ใช้เส้นโยงอย่างไรจึงจะน่าสนใจ ควรออกแบบสัก 2 - 3 รูแบบ แล้วเลือกเอารูปแบบที่ดีที่สุด
6. ลงมือจัดเตรียมชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้มีขนาดและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขึ้นแสดงบนแผ่นป้ายได้อย่างเหมาะสม หัวเรื่องจะใช้วิธีใด ภาพต้องผนึกไหม คำบรรยายจะทำอย่างไร เตรียมให้พร้อม
7. ลงมือจัดจริงบนแผ่นป้ายตามรูปแบบที่วางไว้ อาจทดลองวางบนพื้นราบในพื้นที่เท่าแผ่นป้ายก่อน เพื่อกะระยะที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง

4. การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ กล่าวคือ
4.1 มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก
4.2 มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
4.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
4.4 มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน

5. การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน ได้แก่
5.1 มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม การค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
5.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ
5.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย
5.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
5.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
5.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ

ลักษณะห้องเรียนที่ดี

ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

ผู้นำในดวงใจ


ผู้นำในดวงใจ

ประวัติผู้นำ
ประวัติ

ปวีณา หงสกุล
5กรกฏาคม
เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของ น.. (พิเศษ) เพิ่ม หงสกุลและนางเกยูร หงสกุล (เสียชีวิตแล้ว) เป็นนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทโดดเด่น ในการดูแลด้านสิทธิสตรี มาอย่างยาวนาน นางปวีณามีบุตรคือนายษุภมน หุตะสิงค์ ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นได้เป็น ส.. เขตสายไหม เขต 1 เมื่อปี พ.. 2548 นอกจากนี้มีน้องชายคือ นายฉมาดล หงสกุลที่เป็น ส.. เขตสายไหม เขต 2 และ เอกภพ หงสกุล เป็นประธานสภาเขตสายไหม อีกด้วย

นางปวีณามีชื่อเล่นว่า
"ปิ๊ก" เป็นน้องสาวของ อาภัสรา หงสกุล ผู้เป็นนางงามจักวาลของชาวไทยคนแรก
การศึกษา
สำเร็จไฮสกูลจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย

คหกรรมศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
ศึกษาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกาศนียบัตรชั้นสูง สถาบันพระปกเกล้า รัฐสภารุ่นที่ 1ปริญญาตรี จาก BLISS COLLEGE สหรัฐอเมริกา
ปริญญาตรี
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาโท
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาโท
เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ประวัติการทำงาน
นางปวีณา เคยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ 23 กรกฏาคม 2543 ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้เบอร์ 5 ไม่ได้รับการเลือกตั้งและไม่ได้เป็นตัวเต็งในการเลือกตั้งด้วย กับอีกครั้งคือ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2547 โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ได้เบอร์ 7 อันเป็นเบอร์เก่าของนาย สมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า ฯ คนก่อน ในการหาเสียงคราวนี้นางปวีณาใช้ สีชมพูป็นสีประจำตัว ซึ่งมีความหมายถึงความอ่อนหวานของผู้หญิงแต่ นางปวีณาต้องพบกับคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธินก่อนการลงคะแนน ความนิยมของทั้งคู่คี่สูสีกันมาก จนกระทั่งผลการเลือกตั้งออกมา ปรากฏว่านายอภิรักษ์มีคะแนนชนะนางปวีณาไปประมาณ 3 แสนคะแนนหลังจากนี้ นางปวีณาได้เข้าสังกัดกับทางพรรคไทยรักไทย อันเนื่องจากพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย ใน การเลือกตั้งเมื่อปี 2548นางปวีณาได้ลงเลือกตั้งในเขตสายไหมและได้รับการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างมาก เนื่องจากมีฐานเสียงอยู่บริเวณนี้ปัจจุบัน นางปวีณา หงสกุล ได้เข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย แต่ยังไม่อาจดำเนินการทางการเมืองได้เพราะเป็นหนึ่งใน 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคดียุบพรรคนางปวีณามีภาพลักษณ์ที่ทุกคนรู้จักดี คือ เป็นผู้ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาผู้หญิงและเยาวชน โดยมีมูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะมีผลงานปรากฏตามสือมวลชนเป็นระยะ ๆ ซึ่งบทบาทในด้านนี้ของนางปวีณาโดดเด่นมาก จนได้รับการขนานนามว่า "แม่พระ"ในกลางปี พ.ศ.2552ได้ออกมาเปิดเผยกับสังคมว่าป่วยเป็นมะเร็งที่อกมานานกว่า 5 ปี โดยที่ไม่มีใครทราบนอกจากคนในครอบครัว โดยได้ต่อสู้กับโรคนี้มาโดยตลอด จนเกือบหายเป็นปกติในปัจจุบัน
ลงสมัคร ส.. กทม. เขต 12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 แต่ไม่ได้รับเลือก.. กรุงเทพฯ เขต12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535.. กรุงเทพฯ เขต 12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสัคร สุนทรเวช 1 สิงหาคม 2538โฆษกพรรคประชากรไทย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 9 กรกฎาคม 2539.. กรุงเทพฯ เขต 12 พรรคชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 (ลาออกเมื่อ 6 มิ..2543)รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 5 ตุลาคม 2541 (พ้นตำแหน่ง 9 ..2542)รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 9 กรกฎาคม2542 (ลาออกเมื่อ 6 มิ.. 2543)รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา 5 เมษายน 2543ลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.. 2543 แต่ไม่ได้รับเลือก..บัญชีปาร์ตี้ลิสต์ พรรคชาติพัฒนา 6 มกราคม 2544ลาออกจากพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2547ลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.. 2547 ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือก..กรุงเทพฯ เขต 15 พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548..กรุงเทพฯ เขต 15 พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 (โมฆะ)

ผลงานที่ชื่นชอบ




ผลงานที่ชื่นชอบ

มูลนิธิปวีณา

1. เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ
2.
เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับเคราะห์กรรมและไร้ที่พึ่ง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

3.
เพื่อส่งเสริมและพัฒนารายได้ เสริมทักษะแก่เด็กที่ยากไร้และด้อยโอกาส

4.
เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมไทย


" นางปวีณา หงสกุล เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ ฯ ขึ้นเมื่อปี พ.. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ และดำเนินการเรื่อยมา... จากผลการปฏิบัติงานของชุดเฉพาะกิจ ส..ปวีณา หงสกุล เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีได้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง และได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกฃนให้ความร่วมมือด้วยดีตลอดมา เพราะประชาชนเป็นจำนวนมากที่ถูกละเมิดสิทธิ์ และผู้พบเห็นได้มาร้องเรียน เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีถูกละเมิดสิทธิ เช่น ล่อลวงค้าประเวณี ข่มขืน ทารุณกรรม ฯลฯ และท่านได้ร่วมออกไปปฏิบัติการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้


วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่8


ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ
กลุ่มที่9
กลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการแลละการบริหารรการจัการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษาโครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้1. ชื่อโครงการ2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ3. ผู้รับผิดชอบโครงการ4. หลักการและเหตุผล5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย6. วิธีดำเนินการ7. แผนปฏิบัติงาน8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้10. การติดตามและประเมินผลโครงการสรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ (ประชุม, 2535)1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะโครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ทั้งหมด อาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลของการดำเนินงานมักจะมีประสิทธิภาพด้วย
กลุ่มที่10
กลุ่มที่ 10 เรื่อง การวางแผนพัฒนาคุณภาพ
1. ปกระบุชื่อสถานศึกษา ชื่อแผน และช่วงเวลาที่ใช้แผน2. คำนำ3. สารบัญ4. ภาพรวมของสถานศึกษา ประกอบด้วย4.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาบรรยายสรุปสาระสำคัญสั้น ๆ เพื่อความ เข้าใจในบริบท กระบวนการจัดการศึกษาในชุมชน สาระข้อมูลอาจประกอบด้วย4.1.1 ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา เช่น จำนวนบุคลากร ทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก อัตราส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น4.1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน เช่น สถานภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของชุมชนความร่วมมือของชุมชน เป็นต้น การนำเสนอข้อมูลควรเขียนให้สั้น กระชับได้ใจความและควรในกราฟ แผนภูมิ เป็นต้น ในการนำเสนอข้อมูล4.2 การดำเนินของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา โดยกล่าวถึง ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สถานศึกษาภาคภูมิใจ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสาขาวิชาหลักตามที่กำหนดใน หลักสูตร ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ ของพื้นที่ และหน่วยงานอื่น เป็นต้น ซึ่งควร นำเสนอการดำเนินงานของสถานศึกษา ตามข้อเท็จจริงโดยจำแนกข้อมูลส่วนประกอบหลักของระบบการ จัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพ การจัดองค์กร และสิ่งแวดล้อมของ สถานศึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน
4.3 สรุปสถานภาพปัจจุบันของสถานศึกษาและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชี้ให้เห็นสภาพ จุดเด่นของสถานศึกษา สภาพปัญหา อุปสรรค และจุดด้อยของสถานศึกษา สิ่งที่ท้าท้าย ความสามารถของสถานศึกษา และประเด็นสำคัญที่สถานศึกษากำหนด เพื่อการพัฒนาในระยะต่าง ๆ ได้แก่ ในระยะยาว และรายปี ซึ่งแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มิได้กำหนดตายตัวว่ารอบระยะเวลาของ แผนจะครอบคลุมกี่ปี ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะกำหนดรอบระยะเวลาได้ตามความ เหมาะสม และวิถีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือ ระยะเวลายาวขึ้น เป็น 2-3 ปี ก็ได้
5. เจตนารมณ์ของสถานศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจปณิธานที่สถานศึกษา และชุมชนยึดมั่น และหล่อหลอมเป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่คุณภาพของผู้เรียน การ นำเสนอเจตนารมณ์ของสถานศึกษา ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน บางแห่ง อาจมีทั้งวิสัยทัศน์และภารกิจ บางแห่งอาจละไว้ไม่เขียนข้อความวิสัยทัศน์ แต่เริ่มต้นด้วยความเชื่อ และ ตามด้วยภารกิจของสถานศึกษา เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ร่วมในการปฏิบัติ สถานศึกษาจะมีแนวทางในการเขียน เช่นใดก็ตาม ทั้งนี้สิ่งที่เขียนจะต้องสะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ หลักการ คุณค่า หรือความเชื่อร่วมที่ สถานศึกษา และชุมชนยึดมั่น เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีคุณค่าที่ดีที่สุดต่อผู้เรียน5.1 วิสัยทัศน์ เป็นเจตนารมณ์ หรือความตั้งใจที่กว้าง ครอบคลุมทุกเรื่องของสถานศึกษา และ เน้นการคิดไปข้างหน้าเป็นสำคัญ แสดงถึงความคาดหวังในอนาคต โดยมิได้ระบุวิธีดำเนินงาน

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และความ ยาวประมาณ 3-5 ประโยค5.2 ภารกิจ (หรือพันธกิจ) เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึง วิสัยทัศน์ ซึ่งมีลักษณ์ค่อนข้างเป็นนามธรรม ข้อความ ภารกิจแสดงว่าสถานศึกษาปรารถนาที่จะสัมฤทธิผล อะไรในปัจจุบัน และยังนำไปสู่การวางแนวปฏิบัติด้านพฤติกรรมของบุคลากรด้วย5.3 เป้าหมาย (หรือจุดมุ่งหมาย) เพื่อให้ภารกิจที่กำหนดมีความเป็นไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ สถานศึกษา เช่น ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้านหลักสูตร และการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดองค์กร การพัฒนาวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน เป็นต้น เป้าหมายที่กำหนดให้ ระดับนี้เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุผลภายในช่วงเวลาที่กำหนด ลักษณะการเขียน ยังเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังกว้าง ๆ6. เป้าหมายการพัฒนา (หรือวัตถุประสงค์) และยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา6.1 เป้าหมายการพัฒนาเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป้าหมายนี้ได้จาก ประเด็นสำคัญการพัฒนาอันมาจากการวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็น แล้วกำหนดระยะเวลาที่จะ พัฒนาว่าเป็น 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี6.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ระบุยุทธศาสตร์ที่สถานศึกษาใช้ อันเป็น ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ มีงานวิจัยรองรับ สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้บรรลุผล ตามเป้าหมายได้โดยปกติแต่ละเป้าหมายการพัฒนาจะมีหลายยุทธศาสตร์รองรับเพื่อให้สามารถนำไปสู่การ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นแผนที่กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี เพื่อให้ บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 ดังนั้นแผนปฏิบัติการประจำปี ประกอบด้วย สังเขปรายละเอียดของกิจกรรม หรือขั้นตอนการ ปฏิบัติเพื่อในบรรลุผลตามยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา งบประมาณ และแหล่งงบประมาณรูปแบบการเขียนนิยมใช้ตาราง ซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงตั้งแต่เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐานที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา วิธีการประเมินผล ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ ผู้รับผิดชอบ กรอบ เวลา งบประมาณสำหรับแต่ละกิจกรรม8. การระดมทรัพยากร แหล่งสนับสนุนงบประมาณ และสรุปงบประมาณในแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา จะบอกจำนวนงบประมาณรวมที่จะต้องใช้ในแต่ละปี และแหล่งที่สถานศึกษาจะ สามารถระดมทรัพยากรและการสนับสนุนด้านงบประมาณได้ สำหรับแผนงบประมาณจะเป็นการ ดำเนินงานแยกจากแผนปฏิบัติการายปี9. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และแหล่งวิทยาการภายนอก เพื่อการสนับสนุน ทางวิชาการและอื่น ๆ เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยระบุว่าจะขอความ ร่วมมือจากหน่วยงานใด ในเรื่องใด เป็นต้น10. การแสดงภาระความรับผิดชอบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการประเมิน คุณภาพผู้เรียน การประเมินความก้าวหน้าของสถานศึกษา การผดุงระบบคุณภาพของสถานศึกษา และการ รายงานผลการปฏิบัติของสถานศึกษาต่อผู้เรียน บิดา มารดา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง11. กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และการขอรับความเห็น
กลุ่มที่11
กลุ่มที่ 11 เรื่อง การบริหารการจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้
1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี
2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา
3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้องภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจังให้ผู้ปกคองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา
5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษษ ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปี
ประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและการพัฒนาการศึกษาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย/การวางแผน การทำตามแผน การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน นอกจากนี้การประกันคุณภาพการศึกษายังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้
· ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
· ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
· ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
· หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา
· ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป
กลุ่มที่12
กลุ่มที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย
1 หลักการประเมินคุณภาพ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ 2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) 3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
2 แนวทางในการประเมินภายใน 1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ 2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย 3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน 4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
3 วัตถุประสงค์การประเมินคุณภาพ
วัตถุประสงค์ทั่วไป 1) เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ 2) เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง 3) เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา 4) เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษากำหนด และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น - จุดที่ควรพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา 3) เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด 4) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง 5) เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล 2) การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3) การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทำให้การผลิตบัณฑิตทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศ 4) นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน และสาธารณชนมีข้อมุลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องและเป็นระบบ 5) สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการศึกษา

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่6


ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง สิ่งต่างๆ อันประกอบด้วยสิ่งประดิษฐ์ แบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐาน ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ความเข้าใจ และข้อสมมุติพื้นฐานของคนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ภายในองค์การ

2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
การที่คนเราจะอยู่ในสถานที่ใด สังคมใด เราควรที่จะศึกษาวัฒนธรรมของสิ่งเหล่านั้นให้ดีและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นๆให้ได้ โดยมีลักษณะดังนี้
1.เราควรศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคล ศาสนาที่ประชาชนในที่นั้นนับถือ
2.เราควรศึกษาลักษณะอาชีพส่วนใหญ่ในพื้นที่
3.เราควรศึกษาประเพณี วัฒนธรรมที่มีในพื้นที่

3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
การที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมของการทำงานเป็นทีมได้นั้นเราต้องมีหลักดังต่อไปนี้
1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น
2.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)
3.ไม่คิดว่า เคยทำอย่างไรมา ก็จะต้องทำอย่างนั้นตลอดไป โดยไม่ดูข้อมูลหรือ ปัจจัยที่เปลี่ยนไป (ไม่ใช่อะลุ่มอล่วยด้วยความรู้สึกเห็นใจ)
4.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู
5.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา
หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลที่เกิดขึ้นจาดอิทธิพลขอบตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อมรวมกัน ไม่ใช่จากตัวบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว และย่อมขึ้นอยุ่กับอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมและอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมก็คือ สิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความพร้อมในการกระทำกิจกรรมต่างๆ นั้นสิ่งที่มีอิทิพลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับวัยของมนุญเช่นกัน ในการเรียนรู้จึงต้องมีความเข้าใจถึงระดับความพร้อมของมนุษย์ในวัยต่าง ๆ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้
1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลเรียนรู้ โดยได้ร่วมกันกระทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือได้ลงมือกระทำสิ่งที่จะเรียนรู้จริงนั้น
2. การเรียนรู้ที่แท้จริงจะมีได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์ หรือ ได้รับสิ่งที่ตนต้องการ ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีความสนใจ หรือมีความต้องการในบางสิ่งบางอย่าง ผู้เรียนได้ลงมือกระทำกิจกรรมโดยตั้งอกตั้งใจ เพราะมีความสนใจในสิ่งนั้น หรือสิ่งที่ตนต้องการเรียนรู้
3. การเรียนรู้เกาหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้ว จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนใหม่ๆขึ้น โดยเฉพาะกับประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วนั้นเป็นสิ่งที่สมปรารถนาและน่าตื่นเต้น การเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สะสมขึ้น เนื่องจากประสบการณ์ก่อนๆ หรือที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ก่อนๆ นี้เป็นหลักสำคัญของการเรียนรู้ทุกชนิด
4. การเรียนรู้ทักษะและทัศนะคติใหม่ ๆ เป็นเรื่องของบุคคลแต่ละบุคคลต้องเรียนรู้เองคนเราอาจเรียนรู้เป็นกลุ่มได้ แต่การเรียนรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมความคิดเห็นเป็นเรื่องส่วนบุคคลและเป็นรายบุคคล
5.การสอนเป็นการแนะแนวที่จนให้ผู้เรียนรู้จัดช่วยตนเอง เป็นการแนะแนวทางให้การเรียนดำเนินไปด้วยดี
การเรียนเป็นกระบวนการอันหนึ่งที่บุคคลจะเปลี่ยนพฤติกรรม ความรู้สึกความคิดเห็นและการกระทำของตนเองได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ การเรียนเป็นกิจกรรมอันหนึ่งที่จะทำให้บุคคลเปลี่ยนแปลงไปภายหลังเพราะได้เรียนบางสิ่งบางอย่าง เราจึงเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงความรู้ที่มีอยู่เก่า กระทำหรือดำเนินกิจกรรมบางอย่างผิดจากแต่ก่อนหรือเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นในเรื่องบางเรื่อง

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่5



ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
การอยู่ร่วมกันในชนหมู่มากควรปฏิบัติดังนี้
1. เมตตาช่วยเหลือ
2. เกื้อหนุนชี้นำ
3. ทำสิ่งมีประโยชน์ อภัยโทษ
4. มีของต้องแบ่งปัน
5. สร้างสรรค์ระเบียบวินัย
6. สมานสามัคคี

ตัวอย่างสถานะการณ์

ในหอพัก7วนาวันในทุกวันพุธมีการร่วมกันทำวคามสะอาดหอโดยทุกคนในหอมาร่วมกันทำความสะอาดด้วยความพร้อมเพรียงกัน

2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ในฐานะที่เป็นนักเรียน นักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยพึงปราถนา แต่ก็สามารถทำให้เป็นเรื่องที่สนุกขึ้นมาได้ และผลงานที่ออกมายังมีประสิทธิผลอีกด้วย ในความเป็นจริงหลายๆคนคงทราบกันดีว่า การทำงานเป็นกลุ่มนั้นมีข้อดีมากมาย เช่น
1.สมาชิกในกลุ่มสามารถแสดงความดิดเห็นได้หลากหลาย
2.งานกลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นมีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น เพราะสมาชิกในกลุ่มช่วยกันหาทางแก้ปัญหา (ซึ่งได้ดีกว่าทำงานเดี่ยว)
3.สมาชิกในกลุ่มสามารถช่วยเหลือ และกระตุ้นกันและกันในการทำงานได้

ตัวอย่างสถานะการณ์
การทำงานของกลุ่มที่1มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่มและยังยอมปรับปรุงหากพบจุดบกพร้อมของงานโดยไม่มีใครเกี่ยงกันทำงาน
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
หลักการมนุษย์สัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการใช้ศิลปะในการแสดงออกทางพฤติกรรมระหว่างกันของบุคคลในทุกระดับของสังคม ซึ่งจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยวิทยาการหลายสาขาวิชามาบูรณาการกัน หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ โดยทั่วไปแล้ว เราควรจะเริ่มต้นด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น
1. จงเห็นคุณค่าและความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
2. จงมีทัศนคติที่ดีต่อมนุษย์ด้วยกันเห็นในความสำคัญของมนุษย์
3. จงเริ่มต้นจากตัวเราก่อน
4. จงเห็นคุณค่าและเหตุผลของผู้อื่น
5. จงแสดงความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยท่าทีที่เป็นมิตรสุภาพให้เกียรติต่อกัน
6. พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การโต้เถียงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระหรือประเด็นสำคัญ
7. มีความจริงและสุจริตใจกับผู้อื่นเสมอ ฯลฯ
เทคนิควิธีมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร

การแสวงหาวิธีการ ที่จะทำให้คนเรามีมนุษยสัมพันธ์มีความเป็นมิตรเกื้อกูลเอื้ออาทรกันนั้น มีหลักการช่วยส่งเสริมอยู่มากมาย ดังจะกล่าวพอสังเขปดังนี้
ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น
1. พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
1. เมตตา ได้แก่ การมีเมตตาจิตคิดที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา คือ คิดเอ็นดูจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ มีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา คือ การวางตัวเป็นกลาง ไม่ลำเอียง
2. สังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย
1. ทาน คือ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
2. ปิยวาจา คือ การเจรจาไพเราะอ่อนหวาน ชวนฟัง
3. อัตถจริยา คือ การปฏิบัติตนอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน
4. สมานัตตตา คือ การวางตัวสม่ำเสมอ และทำให้เข้ากับคนทั้งหลายได้
ตัวอย่างสถานะการณ์

ในหอพัก7วนาวันมีการทะเลอะกันแต่มเมื่อนำคู่กรณีมานั่งจับเข่าคุยกันแล้วบอกให้เขาทราบถึงเรื่องหลักมนุษยสัมพันธ์ทำให้คู่กรณีทั้งสองยอมปรับใจไม่โกรธกันแล้วเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร

คิดในทางที่ดี คิดในแง่ที่ดี ไม่คิดใส่ร้ายผู้อื่น

ใบงานที่4 .ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นต่อไปนี้


ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
หลักการทำงานเป็นทีม
1. การตั้งวัตถุประสงค์ของทีมงานอย่างชัดเจน วัตถุประสงค์เป็นจุดหมายที่เราจะต้องบรรลุให้ได้ เป็นเหมือนดวงดาวที่เราจะต้องร่วมกันฟันฝ่าไปถึงไม่ว่า จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม เช่น เป็นผู้นำตลาดหรือเป็นบรรษัทธรรมาภิบาล เป็นต้น
2. การกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงาน การทำงานเป็นทีมจะต้องเป็นระบบ ดังนั้น ต้องมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นคนทำ ทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทำทำไม และทำเมื่อใด
3. การกำหนดทิศทางของทีมงาน ทิศทางการทำงานของทีมจะแสดงถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และความแน่วแน่ของทีมงานในการทำงานให้ประสบ ความสำเร็จซึ่งถือเป็นการแสดงภาวะผู้นำของทีมงานด้วย
4. การสื่อข้อความ หรือการสื่อสารภายในทีมงาน เพราะการสื่อสารโดยเสรี จริงจังจริงใจ และปราศจากการปิดบังซ่อนเร้นจะทำให้การดำเนินงานของ ทีมงานชัดเจนโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกระยะ
5. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมงาน สมาชิกทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า และ แน่นอนว่าไม่มีใครจะเก่งทุกเรื่อง ดังนั้น การที่เราให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การทำงาน อย่างเต็มที่จะทำให้เกิดความผูกพันในทีมงานเป็นอย่างสูง
6. การบริหารเวลาของทีมงาน การบริหารเวลาเป็นเรื่องสำคัญมากการใช้เวลามากไปหรือน้อยไปล้วนแต่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อทีมงาน การใช้เวลาที่ เหมาะสมอย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำให้เกิดประสิทธิผลของงานอย่างเต็มที่
7. การตัดสินใจของทีมงาน การตัดสินใจของทีมงานย่อมมีผลผูกพันกับสมาชิกดังนั้น สมาชิกทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้วยจึงจะ เป็นการตัดสินใจที่ชอบด้วยเหตุและผล
8. การวิพากษ์การทำงานของทีมงาน การวิพากษ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงผลงานของทีมงานให้ดีขึ้นดังนั้นทีมงานที่ดี จึงควรที่จะให้ สมาชิกวิพากษ์ กระบวนการทำงานของทีม เพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อควรปรับปรุงแก้ไข ต่อไป
9. การสร้างวัฒนธรรมของทีมงาน วัฒนธรรมเกิดจากการประพฤติและการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในทีมงานจนก่อเกิดเป็นเป็นวัฒนธรรมของทีมงานซึ่ง อาจเป็นวัฒนธรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ วัฒนธรรมที่ดีก็จะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ดีด้วย
10. ความผูกพันของทีมงาน ทีมงานที่ดีจะสามารถสร้างพันธกิจร่วมกันให้สมาชิกเกิดความผูกพันกับทีมงาน และร่วมกันนำพาทีมงานให้ประสบความ สำเร็จอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงทีมงานเฉพาะกิจที่อยู่ได้ไม่นานนัก

2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ

การที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จ ต้องมีความสามัคคี ความเชื่อใจกัน ความขยัน และวความถูดต้อง

3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย 2. ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน 3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน 4. บทบาท (Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น 5. วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ 5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ 5.2 การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น 5.3 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก 5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน 6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด 7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง 7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ 7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system)

ใบงานที่3 ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นต่อไปนี้


ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความหมายองค์กรและองค์การ

องค์กร(Organ) หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกัน
องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย

2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย 1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) 2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) 3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media) 4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers) 5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง

แบ่งออกเป็น2ลักษณะคือ
1.เครือข่ายการสื่ออย่างเป็นทางการ
2.เครือข่ายการสื่ออย่างไม่เป็น
  
4.วัตถุประสงค์ของการสือสารมีอะไรบ้าง
 มนุษย์ทุกคนมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นดำเนินไปอย่างสันติสุข การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยปกติมนุษย์จะใช้การสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้1.เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูลเหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา เป็นการสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา จึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอน หรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร เช่น ทำให้เกิดความบันเทิง รื่นเริง สนุกสนาน เกิดความพอใจ เกิดความสุข ความสบายใจ เป็นต้น4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ จะมุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตาม เช่น เปลี่ยนทัศนคติจากที่เคยไม่ชอบมาชอบได้ ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงต้องใช้วิธีการนำเสนอสารในรูปแบบของการแนะนำ ชี้แนะ หรือยั่วยุ และปลุกเร้าที่เหมาะสม

5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ในฐานะที่ผมเป็นนักศึกษาครูและในอนาคตผมต้องเป็นครูและการสือสารก็เป็นเสมือนกับอาวุธลับที่เราเอาไปใช้ในการสอบ การสือสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการสอนของผม ผมจะนำหลักการและวิธีการที่ดีมาใช้ในการในการสือสารเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการสือสาร

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่2 ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา


1. นักศึกษาให้ความหมายผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้
ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัคร3สมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปภาวะหน้าที่ของผู้นำ

ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ (พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์, 2547: 68) ได้แก่ 1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน บทบาทดังกล่าวจะช่วยให้ผู้นำสร้างแผนงานแม่แบบ (blueprint of action) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการก่อนจะลงมือปฏิบัติตามแผน นอกจากนั้น ไม่เพียงแต่ต้องรู้ถึงวิธีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายเท่านั้น แต่ผู้นำต้องได้รับการสนับสนุนและความมุ่งมั่นจากพนักงานในการบรรลุถึงเป้าหมายด้วย ผู้นำต้องมีความสามารถนำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการสร้างพันธกิจ วิสัยทัศน์ และสื่อสารอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากความสำเร็จในอนาคต อีกทั้งยังสามารถทำให้พนักงานมีแรงจูงใจและรู้สึกตื่นเต้นกับทิศทางใหม่นี้ด้วย 2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน ในฐานะผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน และโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายขององค์การที่ได้วางไว้แล้ว 3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและ11
ระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการที่สมาชิกของกลุ่มหรือพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ โดยผู้นำต้องสร้างสภาวะที่จะกระตุ้นการสร้างเสริมและปลดปล่อยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ความสามารถ และศักยภาพที่มีอยู่ในบุคคลทุกคน วิธีการนี้จะช่วยให้บุคคลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นในองค์การ 4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำอย่างไร
การพัฒนาภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้1. Learn on the job คือ เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น 2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” 3. Learn from bosses คือ เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้
4. Training and workshop คือ การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ 4.1 New Leader คือ ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ 4.2 Management Development คือ การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้ 4.3 Leadership Enhancement คือ เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ 4.4 Leadership Vitality คือ ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ

4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่ จะต้องมีวิธีการคิดอย่างไร

1. จะต้องมีความฉลาด (Intelligence) ผู้นำจะต้องมีระดับความรู้และสติปัญญาโดยเฉลี่ยสูงกว่าบุคคลที่ให้เขาเป็นผู้นำ ถึงแม้จะไม่แตกต่างกันมาก เพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
2. จะต้องวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social maturity & achievement breadth) คือจะต้องมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว อย่างกว้างขวาง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จะต้องยอมรับสภาพต่าง ๆ ไม่ว่าแก้หรือชนะ ไม่ว่าผิดหวังหรือสำเร็จ 3. จะต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner motivation & achievement drive) ผู้นำจะต้องมีแรงจูงใจภายในสูง และจะต้องมีแรงขับที่จะทำอะไรให้ดีเด่น ให้สำเร็จอยู่เรื่อย ๆ เมื่อทำสิ่งหนึ่งสำเร็จก็ต้องการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไป 4. จะต้องมีเจตคติเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human relations attitudes) ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จนั้น เขายอมรับอยู่เสมอว่า งานที่สำเร็จนั้นมีคนอื่นช่วยทำ ไม่ใช่เขาทำเอง


5. นักศักษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร

หากพิจารณาถึงสังคมของประเทศไทย พระพุทธศาสนาถือเป็นศาสนาหลักประจำชาติ การนำเอาหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ก็น่าจะเอื้อกับวัฒนธรรมไทยไม่มากก็น้อย การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ก็เพื่อการเป็นผู้นำที่ดี และคำสั่งสอนที่สำคัญๆของพระพุทธองค์ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของผู้นำที่ดี หรือวิถีทางของการที่จะเป็นผู้นำที่ดีเพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ, อธิษฐานธรรม 4, พรหมวิหารธรรม 4, อคติ 4, คหิสุข 4, สังคหะวัตถุ 4, ขันติโสรัจจะ หิริโอตัปปะ, อิทธิบาท 4, เวสารัธชกรณะ 5, ยุติธรรม 5, อปริหานิยธรรม 7, นาถกรณธรรม 10, กัลยาณมิตรธรรม 7 และบารมี 10 ประการ (ทศบารมี) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารและจัดการสมัยใหม่ได้