วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียน
จุดเด่นของการนำWeblogมาใช้กับการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน
1.การนำWeblogนี้มาใช้ทำให้การเรียนนั้นแตกต่างไปจากการเรียนแบบปกติ ผู้เรียนมีความตื่นเต้นและน่าสนใจ อยากจะเรียนในวิชานี้มากยิ่งขึ้น
2.เป็นความรู้ใหม่ที่จะทำให้นักศึกษาได้เอาไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
3.นักศึกษาได้รู้จักนวัตกรรมใหม่เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในวิชาชีพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถและยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆมากยิ่งขึ้น
4.Weblogเป็นช่องทางใหม่ในการแสดงความสามรถ แสดงความคิดเห็น และผลงานทางความคิดให้ผู้สนใจหรือบุคคลอื่นได้เข้ามาศึกษาหาความรู้และเป็นการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์
5.การนำมาใช้กับการเรียนทให้นักศึกษาได้ฝึกความพยายาม ความอดทนและความตั้งใจในการทำบล็อคให้ออกมาสวยงามและน่าสนใจ
6.เมื่อเรียนวิชานี้แล้ว ยังได้มีผลงานเอาไว้เป็นความภาคภูมิใจในการเรียนว่าเรานั้นได้มีผลงานที่ดี ได้แสดงผลงานออกสู่เครือข่ายการศึกษาไร้พรหมแดน
7.เพิ่มความรุ้ความสามารถใหม่ในการเรียนรุ้
8.สามารถนำความรู้เรื่องการใช้Weblogไปสอนให้แก่ผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้
9.Weblogตัวแลกเปลี่ยนความรู้นอกห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นการเรียนรุ้ที่ดีที่ไม่มีที่สิ้นสุด
10.การเรียนการสอบแบบนี้จะทำให้การศึกษาของประเทศไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศอย่างมาก
จุดด้อยในการนำWeblogมาใช้ในการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน
1.การนำWeblogมาใช้กับการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนนั้นควรที่จะสอนให้ตรงกับเนื้อหาวิชามากกว่านี้
2.อาจารย์อภิชาติควรที่จะสอนให้มีความหลากหลายมากกว่านี้
3.การนำWeblogมาใช้ควรที่จะมีการตรวจสอบสัยญานอินเตอร์เน็ตในห้องที่เรียนก่อนเพราะมีปัญหาในการเรียนเพราะวิชานี้ต้องใช้เน็ตและการส่งงานนั้นก็ลำบากอยู่พอสมควร
4.อาจารย์ควรที่จะสอนให้มีลูกเล่นให้มากว่านี้
สุดท้ายนี้ฝากถึงอาจารย์อภิชาติ ผู้สอนWeblogให้กับผม ผมคิดว่าวิชานี้คงเป็นวิชาที่น่าเบื่อพอสมควรเพราะแค่ชื่อรายวิชาผมก็ไม่อยากที่จะเรียนแล้ว แต่อาจารย์เป็นผู้ที่เปลี่ยนความคิดของผมให้กลับมาชอบวิชานี้โดยวิชานี้ได้ต่างจากวิชาที่ผมเคยเรียนมา อาจารย์ได้สอนนวัตกรรมใหม่ให้แก่ผม สอนให้ผมรู้จักสอนอะไรที่ใหม่ๆให้กับเด็กในอนาคต แล้วผมคิดว่าหากอาจารย์ได้นำวิธีการสอนแบบนี้ไปใช้กับทุกวิชาที่อาจารย์สอนผมคิดว่าคงทำให้นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์คงมีความคิดที่ดีไม่ต่างไปจากผม ผมขอขอบคุณอาจารย์ที่สอนอะไรใหม่ๆให้แก่ผม ผมจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะครับ
สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขมากๆนะครับ
นายฐิติวัฒน์ ศรีวะบุตร นักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่3 รหัส5011103007
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ข้อสอบ
ตอบข้อที่1.พิจารณาข้อดีข้อเสียของอดีตนายกทักษิณ
1.ท่านได้ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความเจริญเติบโตขึ้น
2.ท่านได้มีการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนระดับรากหญ้าให้มีความเป็นอยู่มากดียิ่งขึ้น
3.ท่านได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศต่างๆในการยอมรับในตัวของประเทศไทย
4.ท่านได้ปรับปรุงการศึกษาให้เจริยมากยิ่งขึ้น
5.ท่านได้ดูแลการศึกษาให้ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ และให้ได้รับทุนการศึกษาแก่ผู้ที่มีความยากจนและขาดทุนทรัพย์
ข้อเสีย
จาข้อดีในข้างต้นของท่านได้ทำให้ประชาชนชาวไทยเชื่อมั่นในตัวท่านจนมีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำความจริงมาเปิดเผย ท่านได้ทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนจริงแต่ท่านได้ประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งญาติพี่น้อง ทำให้เกิดความไม่โปร่งใส และเป็นารระทำที่ผิด เสมือนเป็นการใช้ประชาชนเป็นหุ่นชักใยเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญหากท่านไม่เป็นผู้ผิดจริง ทำไมท่านต้องหนีไปต่างประเทศแล้วไม่มาทำให้ปัญหาที่ก่อขึ้นครี่คลายไปในทางที่ดีแต่ท่านกลับไม่ทำเช่นนั้น ท่านได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในประเทสต่างๆแล้วเข้าแททรกแทรงประเทศเหล่านั้นทำให้เกิดความวุ่นวายใจประเทศเหล่านั้นทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ท่านได้เป็นตัวชนวนที่สร้างความวุ่นวายในประเทศชาติแล้วทำให้ประชาชนชาวไทยอยู่กับความปวดร้าวและความกังวลใจอยู่จนถึงปัจจุบัน
หากผมเป็นครูผมจะสอนผู้เรียนโดยการเล่านิทานโดยมีเค้าโครงเรื่องมาจากอดีตนายทักษิณที่กระทำความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในประเทศ ผมจะเล่านี้ทานเรื่องนี้โดยไม่อ้างอิงท่านแต่จะเล่าให้นักเรียนได้ทราบเนื้อเรื่องอย่างเข้าใจแล้วสรุปให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ แล้วสอนให้ผู้เรียนได้รู้ว่าหาจะทำความดีเราควรจริงใจในการทำความดีไม่ควรที่จะทำความดีแต่ต้องการหวังผลตอบแทน
การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบข้อที2
ผมคิดว่ารูปแบบการสอนของครูทุกคนมีประสิทธิภาพและใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่จะเอามาเปรียบเที่ยบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบในดีที่สุดคงจะบอไม่ได้ แต่การที่ผู้สอนเลือกรูปแบบการจัดารเรียนรู้ให้สอดคล้อมตามลักษณะของผู้เรียนและยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและแล้วละก็ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้แบบได้ หากเลือกให้ตรงกับผู้เรียนแล้วละก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและการเรียนในห้องก็จะเกิดความคล่องตัว ผู้สอนสอนง่าย ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
การเตรียมตัวที่จะเป็นครูที่ดีนั้น ผมจะทำตัวเป็นแบบอย่างสำหรับผู้เรียน เนื้อหาในการสอบนั้ผมจะทำความเข้าใจและมีการเตรียมตัวเพื่อที่จะสอน การวางตัวที่ดีก็มีส่วนสร้างวคามเชื่อมั่นและจะได้เป็นคนที่ดี
ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะเอานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้กับการเรียนการสอบแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบข้อที่3.
จากการที่ผมได้เรียนการทำ "WebBlog " จากอาจารย์อภิชาติ วัชระพันธุ์ ผมจึงมีความคิดว่าในอนาคตถ้าผมได้จบเป็นครูและได้สอนนักเรียนที่ผมรัก ผมจะเอาความรู้ที่อาจารย์สอนในการเรียนการทำ WebBlog ซึงเป็นนวัตกรรมใหม่ในตอนนี้ที่ผมคิดว่าน่าจะทำให้เด็กได้ได้มีทัศนะคติที่ดีต่อการเรียนวิชาที่ผมสอน WebBlog นี้เป็นนวัตกรรมที่ดีที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สร้างความกระตือรือร้นที่จะเรียนและดึงดูดให้ผู้เรียนมีความสนใจนวิชาเรียนมาขึ้น และในยุคนี้เป็นยุคของการสื่อสารไรพรหมแดน การสอนห้เด็กได้คุ้นเคยกับการสือสารไร้พรหมแดน และรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ในทางที่ดีและเหมาะสม โดยผมจะสอนตามแบบปกติและมีการนำ WebBlog มาประยุกต์เข้ากับการเรียนโดยมีการให้เด็กได้เข้าไปทำงานตามที่ผมสั่ง แล้วให้ผู้เรียนได้สร้างWebBlogเป็นของตนเองเพื่อที่จะได้เป็นเสมือนสมุดส่งงานอิเล็คทรอนิค และเป็นกระดานความคิดที่จะให้ผูเรียนได้แสดงความคิดต่อวิชาที่เรียน ต่อการเรียน ต่อครูผู้สอนรวมทั้งการที่ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนอย่างไร
ตอบข้อที่4.
ผมคิดว่าการประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียนจะมีความรู้ ความสามารถ และมีคุณลักษณะต่างๆครบตามความคาดหวังของหลักสูตรกล่าวคือ การที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและมีคุณลักษณะต่างๆครบตามความคาดหวังของหลักสูตรได้นั้น ารบริหารจัดการชั้นเรียนต้องเป็นการจัดการที่ดี มีระบบ มีประสิทธิภาพในการทำให้ผู้เรียนนั้นได้ตามเป้าหมายและตรงตามความคาดหวังที่หลักสูตรวางไว้ ควรจัดให้ผู้เรียนได้มีความรู้ มีความสามารถ และนำความรุ้ที่ได้แสดงออกในทางที่ดี มีการบูรณาการความรู้ต่างๆเพื่อเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาตัวผู้เรียน
2.ประชาชนเกิดความมั่นใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษา ความมั่นใจที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปกครองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ส่งบุตรหลานมาเรียนดังนั้นคุณภาพของการบริหารจัดารที่ดีเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกที่จะให้บุตรหลานมาเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในสถานศึกษาแห่งนี้ โดยตระหนักว่าสถานศึกษาใดมีการจัดการและการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ดีจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดและได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษา
3.สังคมมั่นใจในการจัดการศึกาาของสถานศึกษา
4.หน่วยงานต่างๆสามารถนำผู้สำเร็จการศึกษามาทำงานด้วยความมั่นใจ
5.สถานศึกษา มีทิศทางการบริหารจัดการศึกษาที่ชัดเจนตามมาตรฐาน มีการกำหนดมีระบบควบคุมคุณภาพ มีการทำงานอย่างเป็นมาตรฐาน ทำงานเป็นทีม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะได้มาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบข้อที่5.ประเมินผู้สอน อาจารย์อภิชาติ วัชระพันธุ์
คะแนนเต็ม10 ให้8.5 โดยคะแนนที่ได้มีการแจกแจงดังนี้
ข้อดี จากการเรียนกับอาจารย์อภิชาตินี้เป็นวิชาที่2แล้วที่อาจารย์ได้สอนผมมา โดยวิชานี้มีความแตกต่างกับวิชาที่2โดยอาจารย์ได้สอนความรุ้ใหม่ๆให้กับผมโดยผมได้รับความรู้ในการทำ WebBlog เป็นของตัวเอง ถ้าผมไม่ได้เรียนกับอาจารย์ก็คงยังไม่รู้จัก แต่วันนี้ผมรู้จักและมีความรู้พอที่จะนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ในได้จริง ผมจึงประทับใจในการทุ่มแทของอาจารย์มากที่สอนสิ่งที่ดี สิ่งที่ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทำให้ชีวิตการเป้นครูในอนาคตของผมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย การสอนของอาจารย์อาจจะไม่ละเอียดในด้านเนื้อหามากนัก และรวมทั้งเลือกใช้การสอนโดยใช้ WebBlog โดยเกิดความลำบากในการเรียนของผมและยังไม่สะดวกเพราะเน็ตในมหาวิทยาลัยไม่แรงพอ จึงเกิดปัญหาในการเรียน และทุกคนยังไม่มีคอมที่จะใช้งาน อาจารย์ควรสอนในห้องคอมเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
ข้อเสนอแนะ ถ้าหากอาจารย์จะสอนการใช้ Webblog แล้วละก็ควรที่จะหาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกาาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเรียน ส่วนในเรื่องของเนื้อหาวิชาเรียน การบริหารจัดการในชั้นเรียน ควรมีเนื้อหาเกียวกับเรื่องต่างๆในชั้นเรียนเพื่อที่จะให้นักสึกษาคุ้นเคยกับห้องเรียน การสอนควรที่จะพูดเร็วพอประมาน
วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
การจัดชั้นเรียน
ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
หลักการจัดชั้นเรียน
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
รูปแบบการจัดชั้นเรียนแบบต่างๆ
จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนที่พึงปรารถนา
การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้
1. การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
1.1 ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
1.2 ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
1.3 ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
1.4 ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
1.5 ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
1.6 แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
2. การจัดโต๊ะครู
2.1 ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2.2 ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
3. การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดาน
ดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
3.1 จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
3.2 จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3.3 จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
3.4 จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง
แนวการจัดป้ายนิเทศ
เพื่อให้การจัดป้ายนิเทศได้ประโยชน์คุ้มค่า ครูควรคำนึงถึงแนวการจัดป้ายนิเทศในข้อ
ต่อไปนี้
1. กำหนดเนื้อหาที่จะจัด ศึกษาเนื้อหาที่จะจัดโดยละเอียด เพื่อให้ได้แนวความคิดหลัก หรือสาระสำคัญ เขียนสรุป หรือจำแนกไว้เป็นข้อ ๆ
2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดโดยคำนึงถึงแนวความคิดหลักสาระสำคัญของเรื่องและคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการเขารู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
3. กำหนดชื่อเรื่อง นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ดู ชื่อเรื่องที่ดีต้องเป็นใจความสั้น ๆ กินใจความให้ความหมายชัดเจน ท้าทาย อาจมีลักษณะเป็นคำถามและชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ในการจัดแผ่นป้าย
4. วางแผนการจัดคล่าว ๆ ไว้ในใจ ว่าจะใช้วัสดุอะไรบ้าง แล้วจึงช่วยกันจัดหาสิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรูปภาพ แผนภาพ ภาพสเก็ตซ์ ของจริง หรือจำลอง การ์ตูน เท่าที่พอจะหาได้
5. ออกแบบการจัดที่แน่นอน โดยคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ โดยสเก็ตซ์รูปแบบการจัดลงบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายแผ่นป้าย ว่าจะวางหัวเรื่อง รูปภาพ และสิ่งต่าง ๆ ในตำแหน่งใด คำบรรยายอยู่ตรงไหน ใช้เส้นโยงอย่างไรจึงจะน่าสนใจ ควรออกแบบสัก 2 - 3 รูแบบ แล้วเลือกเอารูปแบบที่ดีที่สุด
6. ลงมือจัดเตรียมชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้มีขนาดและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขึ้นแสดงบนแผ่นป้ายได้อย่างเหมาะสม หัวเรื่องจะใช้วิธีใด ภาพต้องผนึกไหม คำบรรยายจะทำอย่างไร เตรียมให้พร้อม
7. ลงมือจัดจริงบนแผ่นป้ายตามรูปแบบที่วางไว้ อาจทดลองวางบนพื้นราบในพื้นที่เท่าแผ่นป้ายก่อน เพื่อกะระยะที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง
4. การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ กล่าวคือ
4.1 มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก
4.2 มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
4.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
4.4 มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน
5. การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน ได้แก่
5.1 มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม การค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
5.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ
5.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย
5.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
5.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
5.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ
ลักษณะห้องเรียนที่ดี
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
ผู้นำในดวงใจ
ผู้นำในดวงใจ
ประวัติผู้นำ
ประวัติ
ปวีณา หงสกุล 5กรกฏาคม เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของ น.อ. (พิเศษ) เพิ่ม หงสกุลและนางเกยูร หงสกุล (เสียชีวิตแล้ว) เป็นนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทโดดเด่น ในการดูแลด้านสิทธิสตรี มาอย่างยาวนาน นางปวีณามีบุตรคือนายษุภมน หุตะสิงค์ ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นได้เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต 1 เมื่อปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้มีน้องชายคือ นายฉมาดล หงสกุลที่เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต 2 และ เอกภพ หงสกุล เป็นประธานสภาเขตสายไหม อีกด้วย
นางปวีณามีชื่อเล่นว่า "ปิ๊ก" เป็นน้องสาวของ อาภัสรา หงสกุล ผู้เป็นนางงามจักวาลของชาวไทยคนแรก
การศึกษา
สำเร็จไฮสกูลจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย
คหกรรมศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลศึกษาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกาศนียบัตรชั้นสูง สถาบันพระปกเกล้า รัฐสภารุ่นที่ 1ปริญญาตรี จาก BLISS COLLEGE สหรัฐอเมริกาปริญญาตรี
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงปริญญาโท
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงปริญญาโท
เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
นางปวีณา เคยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ 23 กรกฏาคม 2543 ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้เบอร์ 5 ไม่ได้รับการเลือกตั้งและไม่ได้เป็นตัวเต็งในการเลือกตั้งด้วย กับอีกครั้งคือ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2547 โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ได้เบอร์ 7 อันเป็นเบอร์เก่าของนาย สมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า ฯ คนก่อน ในการหาเสียงคราวนี้นางปวีณาใช้ สีชมพูป็นสีประจำตัว ซึ่งมีความหมายถึงความอ่อนหวานของผู้หญิงแต่ นางปวีณาต้องพบกับคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธินก่อนการลงคะแนน ความนิยมของทั้งคู่คี่สูสีกันมาก จนกระทั่งผลการเลือกตั้งออกมา ปรากฏว่านายอภิรักษ์มีคะแนนชนะนางปวีณาไปประมาณ 3 แสนคะแนนหลังจากนี้ นางปวีณาได้เข้าสังกัดกับทางพรรคไทยรักไทย อันเนื่องจากพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย ใน การเลือกตั้งเมื่อปี 2548นางปวีณาได้ลงเลือกตั้งในเขตสายไหมและได้รับการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างมาก เนื่องจากมีฐานเสียงอยู่บริเวณนี้ปัจจุบัน นางปวีณา หงสกุล ได้เข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย แต่ยังไม่อาจดำเนินการทางการเมืองได้เพราะเป็นหนึ่งใน 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคดียุบพรรคนางปวีณามีภาพลักษณ์ที่ทุกคนรู้จักดี คือ เป็นผู้ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาผู้หญิงและเยาวชน โดยมีมูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะมีผลงานปรากฏตามสือมวลชนเป็นระยะ ๆ ซึ่งบทบาทในด้านนี้ของนางปวีณาโดดเด่นมาก จนได้รับการขนานนามว่า "แม่พระ"ในกลางปี พ.ศ.2552ได้ออกมาเปิดเผยกับสังคมว่าป่วยเป็นมะเร็งที่อกมานานกว่า 5 ปี โดยที่ไม่มีใครทราบนอกจากคนในครอบครัว โดยได้ต่อสู้กับโรคนี้มาโดยตลอด จนเกือบหายเป็นปกติในปัจจุบัน
ลงสมัคร ส.ส. กทม. เขต 12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 แต่ไม่ได้รับเลือกส.ส. กรุงเทพฯ เขต12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535ส.ส. กรุงเทพฯ เขต 12 พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสัคร สุนทรเวช 1 สิงหาคม 2538โฆษกพรรคประชากรไทย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 9 กรกฎาคม 2539ส.ส. กรุงเทพฯ เขต 12 พรรคชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 (ลาออกเมื่อ 6 มิ.ย.2543)รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 5 ตุลาคม 2541 (พ้นตำแหน่ง 9 ก.ค.2542)รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 9 กรกฎาคม2542 (ลาออกเมื่อ 6 มิ.ย. 2543)รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา 5 เมษายน 2543ลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2543 แต่ไม่ได้รับเลือกส.ส.บัญชีปาร์ตี้ลิสต์ พรรคชาติพัฒนา 6 มกราคม 2544ลาออกจากพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2547ลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2547 ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือกส.ส.กรุงเทพฯ เขต 15 พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 15 พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 (โมฆะ)
ผลงานที่ชื่นชอบ
ผลงานที่ชื่นชอบ
มูลนิธิปวีณา
1. เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ
2. เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับเคราะห์กรรมและไร้ที่พึ่ง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนารายได้ เสริมทักษะแก่เด็กที่ยากไร้และด้อยโอกาส
4. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมไทย
" นางปวีณา หงสกุล เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ ฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ และดำเนินการเรื่อยมา... จากผลการปฏิบัติงานของชุดเฉพาะกิจ ส.ส.ปวีณา หงสกุล เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีได้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง และได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกฃนให้ความร่วมมือด้วยดีตลอดมา เพราะประชาชนเป็นจำนวนมากที่ถูกละเมิดสิทธิ์ และผู้พบเห็นได้มาร้องเรียน เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีถูกละเมิดสิทธิ เช่น ล่อลวงค้าประเวณี ข่มขืน ทารุณกรรม ฯลฯ และท่านได้ร่วมออกไปปฏิบัติการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้