วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่1 ทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษา


1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา

ตอบ การบริหารเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นการบริหารได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
การบริหารการศึกษา เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์คือ ความรู้ที่ถูกต้อง แนวคิดดี ๆ คติประจำใจ ศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางตำรา คำพูด หรืออื่นๆตามความสามารถผู้ที่จะรับหรือศึกษาศาสตร์นั้นๆ บางคนอาจจะศึกษาทั้งชีวิตแต่ไม่บรรลุ เช่น ทางด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น ส่วนศิลป์ คือ การลงมือปฏิบัติ ลงมือทำด้วยความชำนาญ ศิลป์เป็นเรื่องของหัวคิด สมอง ความก้าวหน้า การไม่ยึดติด เช่น ศิลปะทางด้านการวาดภาพ การร่ายรำ เป็นต้น
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 1 1. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย 3. ใช้ระบบเผด็จการ 4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า 5. มีระบบศักดินา พื้นฐานความคิดของการบริหารในยุคนี้ยังไม่เกิด บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจแล้ว ก็จะมีอำนาจควบคุมระบบสังคมและเศรษฐกิจ คนเมื่อเกิดที่แห่งใดแล้วก็จะจำกัดเฉพาะที่นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานะของตนได้ ในยุคนี้ ช่างฝีมือทำงานอย่างเดียวกัน มีการรวมกลุ่มกัน กลุ่มนั้นคือการเกิดสหบาลกรรมกร เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 องค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น การผลิตเปลี่ยนจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน และในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 องค์การธุรกิจรูปแบบบริษัทก็เกิดขึ้น สรุปวิวัฒนาการของการบริหารในยุคก่อน Classical 1. เริ่มจากคนรู้จักรวมกลุ่มกันทำงานประมาณ ค.ศ. 1880 2. บุคคลทำหน้าที่บริหารจัดการขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มนั้น 3. ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ เป็นยุคเผด็จการ มีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical เป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 2 1. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม 2. มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ 3. มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว 4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ 5. เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คือพยายามศึกษาวิธีการผลิต พยายามบอกวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานที่สุด ขจัดความไม่ยุติธรรม นักคิดในทางบริหารFrederick W. Taylor ( บิดาแห่งการจัดการทางวิทยาศาสตร์ ) เป็นชาวเยอรมัน ได้พัฒนาหลักการ การบริหารไว้ 4 ข้อ ดังนี้ 1. งานทุกงานต้องกำหนดวิธีการอ่าน และทุกคนต้องปฏิบัติตาม 2. มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกคนงาน 3. ทุกคนต้องได้รับการอบรม 4. ฝ่ายบริหารต้องร่วมมือกับพนักงานTaylor ใช้เทคนิคการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Time – and – motion Study ( 1. เวลาที่จะใช้มนุษย์ทำงาน 2. หลักการกำหนดค่าจ้าง กำหนดตามลักษณะงาน 3. การแยกการวางแผนออกจากการปฏิบัติงาน )Henri Faylo นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส บิดาแห่งทฤษฎีการบริหาร ได้กำหนดขั้นตอนของการบริหารไว้ คือ 1. การวางแผน ( Planning ) 2. การจัดองค์การ( Organizing ) 3. การบัญชาการ( Commanding )4. การประสานงาน( Coordinate )5. การควบคุม( Control )Faylo เสนอหลักการบริหาร 14 หลัก ดังนี้ 1. แบ่งงานกันทำ 2. อำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชา 3. การมีระเบียบวินัย 4. ความเป็นเอกสารในการบังคับบัญชา 5. หลักผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นรอง องค์การเป็นหลัก 6. หลักความเอกภาพในทิศทาง 7. ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ 8. ความยุติธรรมต่อนายจ้าง และลูกจ้าง 9. หลักการมีสายบังคับบัญชา 10. หลักความเป็นระเบียบแบบแผน 11. ความเสมอภาค 12. ความมั่นคงในการทำงาน 13. หลักความริเริ่มสร้างสรรค์ 14. หลักความสามัคคีหรือมีน้ำใจMax Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ( บิดาแห่งราชการ ) เป็นนักคิดการบริหารแบบระบบราชการ นำไปใช้บริหารองค์กรได้ดี 7 ประการ ดังนี้ 1. การมีกฎระบียบข้อบังคับ 2. ไม่ยึกติดตัวบุคคล ไม่มีลักษณะเป็นส่วนตัว 3. หลักแบ่งงานกันทำ 4. มีโครงสร้างสายบังคับบัญชา 5. ความเป็นรอาชีพที่มั่นคง 6. มีอำนาจในการตัดสินใจ 7. มีเหตุผลยุคที่ 3 วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์ ( Human Relation ) เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจElton Mayo ได้ทำการทดลอง ที่เป็นที่รู้จักในนาม ฮอธอร์น ศึกษาที่โรงงานฮอธอร์น ของบริษัท เวสเทอร์น อิเล็กตริก เริ่มในปี พ.ศ. 1924 – 1927 ผลการศึกษา 1. สถานที่ของห้องทำงาน เรื่องของแสงสว่างที่มีมีผลต่อการเพิ่มผลผลิต 2. กลุ่มมีผลต่อการปฏิบัติงานของคน 3. ระบบสังคมหรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีผลกระทบต่อผลงานของคน 4. ทัศนคติของพนักงานมีผลต่อการผลิตของงานข้อเสนอแนะของ Mayo 1. หาทางแก้ไขด้านบริหาร 2. ใช้ประโยชน์จากวิชาความรู้สาขาต่าง ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ 3. นำวิธีการทางมนุษยสัมพันธ์มาใช้อย่างถูกต้อง 4. มีการจูงใจพนักงาน 5. มีการสื่อสารที่ดีในองค์การแนวความคิดกลุ่มมนุษยสัมพันธ์ เน้นเรื่อง 1. ภาวะผู้นำ ( Leadership ) 2. ทัศนคติในงาน ( Job attitudes ) 3. พลวัตรของกลุ่ม ( Group dynamic )ในยุคนี้ให้ความสำคัญกับคนและกลุ่มทำงาน ยุคที่ 4 ยุค Behavioral Organization หรือ ยุคพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มปี 1958 - ปัจจุบัน (10 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ) เป็นการผนวกความสำคัญของคนกับระบบเข้าด้วยกัน คือเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์ เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด ( Chester I Barnard ) ชาวอเมริกัน ซี่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ เชื่อว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ บาร์นาร์ดเชื่อว่าการโน้มน้าวจิตใจมี 2 ลักษณะเฉพาะเจาะจง คือเรื่องของแรงจูงใจด้านวัตถุ และลักษณะทั่วไป คือเรื่องความรู้สึก ดักกลาส แมกเกอเกอร์ ( Douglas McGregor s ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามี 2 แบบ คือ 1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล 2. Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ 1. ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน 2. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน 3. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
4.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป
ทฤษฎีภาวะผู้นำ สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการศึกษาและรวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ โดยแบ่งตามระยะการพัฒนา ดังนี้
1. ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Trait Theories)
2. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)
3. ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational or Contingency Leadership Theories)
4. ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership Theories)
ทฤษฎี X พื้นฐานของคน คือ ไม่ชอบทำงาน พื้นฐานคนขี้เกียจ อยากได้เงิน อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎี Y เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน มีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรร และมีศักยภาพในตนเอง คนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และSuperego

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น